ติดต่อ +66 2 826 9999
Mon - Fri 07:00 - 20:00
Sat - Sun 07:00 - 17:00

คุณรู้ไหมโปรตีนพืช มีประโยชน์กว่าที่คิด

คลินิกสุขภาพเชิงป้องกัน และฟื้นฟู
คลินิกสุขภาพเชิงป้องกัน และฟื้นฟู
-
14 ก.ย. 2563
-

 

Plant-based protein หรือโปรตีนพืช ซึ่งมักพบได้มากจากพืชตระกูลถั่วและธัญพืช เมื่อเปรียบเทียบปริมาณโปรตีนต่อน้ำหนัก 100 กรัม จะพบว่าปริมาณโปรตีนจากพืช เทียบเท่าปริมาณโปรตีนจากเนื้อสัตว์เลยทีเดียว​

​​

คุณค่าโปรตีนต่อ 100 กรัม เทียบเท่ากับ​
  • เนื้อวัว หรือ เนื้อหมู 23 กรัม​
  • ถั่วเหลือง 36 กรัม​
  • ข้าวโอ๊ต 17 กรัม​
  • ควินัว 14 กรัม​
  • เมล็ดฟักทอง 19 กรัม​

อีกทั้งยังมี Phytonutrient กรดอะมิโน วิตามิน และแร่ธาตุที่สำคัญต่อร่างกายหลายชนิด และที่สำคัญมีใยอาหารที่ดีต่อสุขภาพของลำไส้​

​นอกจากนี้โปรตีนพืช ยังมีคุณสมบัติต้านการอักเสบ และมีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดความเสี่ยงจากโรคเรื้อรังหลายชนิด เช่น โรคมะเร็ง ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ ​

โปรตีนพืช เหมาะกับผู้สูงวัย เพื่อการดูดซึมที่ดี​

เมื่ออายุเพิ่มขึ้น อัตราการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อก็จะเพิ่มขึ้น ผู้สูงวัยจึงควรเสริมโปรตีนจากอาหารเพื่อซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ และเนื่องจากผู้สูงวัยมีการเปลี่ยนแปลงของระบบย่อยอาหารและการดูดซึมสารอาหารที่แย่ลง การรับประทานเนื้อสัตว์มากไปอาจทำให้มีอาการท้องอืด อาหารไม่ย่อยและขาดใยอาหารที่จะช่วยเรื่องของการขับถ่าย​

​โปรตีนจากพืช จึงเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมเพราะดูดซึมง่าย พืชอย่างถั่วเหลืองจะมีกรดอะมิโนหลายชนิด เช่น ทริปโทเฟน (Tryptophan) ลิวซีน (Leucine) อาร์จีนีน (Arginine) ที่จำเป็นต่อการเสริมการทำงานของกล้ามเนื้อและสุขภาพผู้สูงวัย ทั้งยังมีใยอาหารที่ได้จากพืช ซึ่งจะทำให้ระบบขับถ่ายของผู้สูงวัยอยู่ในภาวะสมดุล ลดอาการท้องผูก ลดการดูดซึมของคอเลสเตอรอลและไขมันอีกด้วย​

โปรตีนพืช แคลอรี่ต่ำ และใยอาหารสูง​

เพราะพืชมีแคลอรี่ต่ำ มีใยอาหารสูง ทำให้อิ่มท้อง และเพิ่มจำนวนแบคทีเรียดีในลำไส้ ปรับสมดุลระบบขับถ่าย โดยที่ยังให้สารอาหาร วิตามิน และแร่ธาตุ จึงเหมาะกับคนที่กำลังควบคุมอาหาร หรือควบคุมน้ำหนัก อย่าลืมว่าโปรตีนก็มีส่วนสำคัญในการป้องกันการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ เพื่อการลดน้ำหนักอย่างสุขภาพดี​

โปรตีนพืช ทางเลือกใหม่สำหรับผู้ออกกำลังกาย​

คุณรู้ไหมว่าปัจจุบันผู้ออกกำลังกายหันมานิยมทานโปรตีนจากพืชมากขึ้น และยังมีกลุ่มผู้ออกกำลังกาย Body Builder ที่ทานมังสวิรัติอีกด้วย ​

​​

เพราะการทานโปรตีนจากสัตว์ แม้ว่าจะได้โปรตีนปริมาณสูงแต่ก็มีไขมัน คอเลสเตอรอล และมีความสัมพันธ์กับโรคหลอดเลือดและหัวใจ โรคเบาหวาน หรือโรคมะเร็งบางชนิด ผู้ที่ออกกำลังกายและเล่นกีฬาที่ใส่ใจต่อสุขภาพจึงหันมาบริโภค Plant-based protein มากขึ้น ​

​นอกจากนี้ยังเหมาะกับผู้ที่ต้องการเสริมกล้ามเนื้อ แต่มีภาวะ Lactose-intolerance ทำให้ไม่สามารถทานเวย์โปรตีนได้ โปรตีนพืชจึงเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกในการเสริมโปรตีน​

แหล่งที่มา:​

  1. ​15 best plant-based protein foods [Internet]. Medicalnewstoday.com. 2020 [cited 24 August 2020]. Available from: https://www.medicalnewstoday.com/articles/321474...
  2. What are the best sources of plant-based protein? [Internet]. NBC News. 2020 [cited 24 August 2020]. Available from: https://www.nbcnews.com/better/lifestyle/ask-nutritionist-what-are-best-sources-plant-based-protein-ncna982496​
  3. The Link Between Red Meat and Cancer: What You Need to Know [Internet]. Health Essentials from Cleveland Clinic. 2020 [cited 24 August 2020]. Available from: https://health.clevelandclinic.org/link-red-meat-cancer-need-know/​
  4. Kyle J Hackney, Kara Trautman, Nathaniel Johnson, Ryan Mcgrath, Sherri Stastny, Protein and muscle health during aging: benefits and concerns related to animal-based protein, Animal Frontiers, Volume 9, Issue 4, October 2019, Pages 12–17, https://doi.org/10.1093/af/vfz030​
  5. Can plant-based proteins support healthy musculoskeletal ageing? | The Nutrition Society [Internet]. Nutritionsociety.org. 2020 [cited 24 August 2020]. Available from: https://www.nutritionsociety.org/papers/can-plant-based-proteins-support-healthy-musculoskeletal-ageing​
  6. Publishing H. Is it safe to go vegan in older age? - Harvard Health [Internet]. Harvard Health. 2020 [cited 24 August 2020]. Available from: https://www.health.harvard.edu/staying-healthy/is-it-safe-to-go-vegan-in-older-age​
  7. Soy Protein: Good or Bad? [Internet]. Healthline. 2020 [cited 24 August 2020]. Available from: https://www.healthline.com/nut.../soy-protein-good-or-bad...
  8. Gorissen, Stefan H M et al. “Protein content and amino acid composition of commercially available plant-based protein isolates.” Amino acids vol. 50,12 (2018): 1685-1695. doi:10.1007/s00726-018-2640-5​
  9. Kubala J. Body Recomposition: Lose Fat and Gain Muscle at the Same Time [Internet]. Healthline. Healthline Media; 2018 [cited 2020Aug24]. Available from: https://www.healthline.com/nutrition/body-recomposition​
  10. [Internet]. 2020 [cited 24 August 2020]. Available from: https://health.usnews.com/.../can-you-gain-muscle-while...
  11. 5 Plant-Based Foods to Help You Build Lean Muscle [Internet]. Healthline. 2020 [cited 24 August 2020]. Available from: https://www.healthline.com/.../5-plant-based-foods-for...
  12. Berrazaga I, Micard V, Gueugneau M, Walrand S. The Role of the Anabolic Properties of Plant- versus Animal-Based Protein Sources in Supporting Muscle Mass Maintenance: A Critical Review [Internet]. 2019 [cited 2020Aug24]. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6723444/​
  13. Turner DZ. Plant-Based Protein Vs Whey Protein – Which One Is Better For Building Muscle? [Internet]. Men's Health. 2019 [cited 2020Aug24]. Available from: https://www.menshealth.com.au/plant-protein-vs-whey-protein

Share:

@2020 BDMS Wellness Clinic. All rights Reserved