ติดต่อ +66 2 826 9999
Mon - Fri 07:00 - 20:00
Sat - Sun 07:00 - 17:00

อาหารไทย จากภูมิปัญญา สู่ภูมิคุ้มกัน

คลินิกสุขภาพเชิงป้องกัน และฟื้นฟู
คลินิกสุขภาพเชิงป้องกัน และฟื้นฟู
-
01 เม.ย. 2563
-

 

ทานอาหารไทย เมนูไหนก็เป็นยา

อาหารไทยนอกเหนือจากรสชาติความอร่อยที่ยอมรับกันทั่วโลก ยังอุดมไปด้วยสมุนไพรหลากหลายชนิดที่มีทั้งคุณค่าทางอาหาร เส้นใยอาหาร มีสรรพคุณทางยาหรือสารสำคัญ มีงานศึกษาวิจัยทางคลินิก และเป็นที่ยอมรับของการแพทย์ในปัจจุบัน ​

สมุนไพรที่เป็นส่วนประกอบอยู่ในอาหารไทยพื้นบ้าน ช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันและระบบทางเดินหายใจ ทั้งยังเป็นอีกหนึ่งในวิธีปฏิบัติตัวเพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน ต่อสู้ไวรัส จากภายในสู่ภายนอก ในช่วง “อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพิ่มภูมิ เพื่อชาติ” ช่วงที่มีการระบาดของโรคต่างๆ เพราะภูมิคุ้มกันคือเกราะป้องกันที่สำคัญของมนุษย์​

อาหารไทยจึงเป็นอาหารใกล้ตัว ที่หาได้ง่าย ดีต่อสุขภาพ และที่สำคัญคือราคาไม่แพงอีกด้วย

 

5 อาหารไทย เพิ่มภูมิคุ้มกัน​

 

เมี่ยงคำ​
  • มะนาว - มีวิตามินซีสูง เสริมภูมิคุ้มกัน​
  • หอมแดง - สารเควอซิทิน (Quercetin) ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ​
  • ขิง - สารจินเจอรอล (Gingerol) ลดอาการวิงเวียนศีรษะ ไมเกรน ขับลม ลดอาการคลื่นไส้อาเจียน​
  • ใบชะพลู - ช่วยขับเสมหะ ลดอาการท้องอืด​

น้ำพริกมะขามป้อม ผักสด​
  • มะขามป้อม - มีวิตามินซีสูง เสริมภูมิคุ้มกัน มะขามป้อมสด 4 ผล มีวิตามินซีสูงถึง 100 มิลลิกรัม เทียบเท่ากับการทานส้มถึง 6 ผล​
  • พริกแดง - สารแคปไซซิน (Capsaicin) ช่วยลดน้ำมูก ช่วยบรรเทาอาการไอ อันเนื่องมาจากหวัด สารเบต้าแคโรทีนในพริก ยังช่วยป้องกันเยื่อบุผนัง ช่องปาก จมูก ลำคอ และปอด​
  • กระเทียม - ต้านเชื้อจุลชีพก่อโรคในระบบทางเดินอาหารและทางเดินปัสสาวะ​ 

แกงอ่อม​
  • พริกแดง - สารแคปไซซิน (Capsaicin) ช่วยลดน้ำมูก ช่วยบรรเทาอาการไอ อันเนื่องมาจากหวัด สารเบต้าแคโรทีนในพริก ยังช่วยป้องกันเยื่อบุผนัง ช่องปาก จมูก ลำคอ และปอด​
  • ผักชีลาว - สารคาร์โวน (Carvone) มีสรรพคุณช่วยขับลม ช่วยย่อยอาหาร แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ​
  • ตะไคร้ - ลดอาการท้องอืด จุกเสียด อาการปวดเกร็งท้องขณะมีประจำเดือน​
  • มะเขือเปราะ - มีใยอาหารสูง ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด และช่วยระบบขับถ่าย​
ผัดฉ่า​
  • กระชาย - มีสารออกฤทธิ์หลายชนิด เช่น โบเซนเบอร์จินเอ (Boesenbergin A), คาร์ดามอนิน (Cardamonin) และฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ และสามารถออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระได้ เทียบเท่ากับอนุพันธ์ของวิตามินอี (Trolox)​
  • พริกไทยสด: สารสปาทูลีนอล (Spathulenol) จากเมล็ดพริกไทยดำช่วยต้านการอักเสบ​

แกงส้มมะรุมปลา​
  • มะรุม - ช่วยลดระดับน้ำตาลและคอเลสเตอรอลในเลือด​
  • กระชาย - มีสารออกฤทธิ์หลายชนิด เช่น โบเซนเบอร์จินเอ (Boesenbergin A), คาร์ดามอนิน (Cardamonin) และฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ และสามารถออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระได้ เทียบเท่ากับอนุพันธ์ของวิตามินอี (Trolox)​
  • ใบแมงลัก - ช่วยขับลม บรรเทาอาการหวัด คัดจมูก และช่วยเพิ่มน้ำนมแม่​

 

นอกจากปฏิบัติตัวเพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน ต่อสู้ไวรัส จากภายในสู่ภายนอกแล้ว การป้องกันเชื้อไวรัสจากภายนอกสู่ภายใน ก็สำคัญด้วยเช่นกัน​

โดยเริ่มต้นด้วยการ กินร้อน, ช้อนกลาง ,ล้างมือ (ถูสบู่ หรือใช้ Alcohol เกิน 70%),ใส่ Mask ,ใส่แว่นตา, ใส่ Face shield และ Social Distancing (ไม่ชุมนุม, หลีกเลี่ยงสถานที่มีคนพลุกพล่าน, อยู่บ้าน และอยู่ห่างผู้อื่นอย่างน้อย 2 เมตร) เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโควิด-19

 

แหล่งข้อมูล
  1. คณะกรรมการแห่งชาติด้านยา. บัญชียาจากสมุนไพร พ.ศ. 2549. พิมพ์ครั้งที่2. โรงพิมพ์ชุนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย:กรุงเทพมหานคร, 2551.
  2. อินทัช ศักดิ์ภักดีเจริญ, สุนิตา มากชูชิต, อรุณพร อิฐรัตน์. การทดสอบฤทธิ์ยับยั้งการหลั่งไนตริกออกไซด์ของสารสกัดสมุนไพรผสม. ธรรมศาสตร์เวชสาร 2557;14(1):7-11.
  3. ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. ขิง [อินเตอร์เนต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 19 มีนาคม 2563] เข้าถึงได้จาก: http://www.thaicrudedrug.com/main.php?action=viewpage&pid=39 
  4. ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. หอมแดง [อินเตอร์เนต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 19 มีนาคม 2563] เข้าถึงได้จาก: http://www.thaicrudedrug.com/main.php?action=viewpage...
  5. ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. พริกไทยดำ [อินเตอร์เนต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 19 มีนาคม 2563] เข้าถึงได้จาก: http://www.thaicrudedrug.com/main.php?action=viewpage&pid=90
  6. ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. กระเทียม [อินเตอร์เนต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 19 มีนาคม 2563] เข้าถึงได้จาก: http://www.thaicrudedrug.com/main.php?action=viewpage&pid=8
  7. Abdull Razis AF, Ibrahim MD, Kntayya SB. Health benefits of Moringa oleifera. Asian Pacific Journal of Cancer Prevention. 2014;15(20):8571-6.
  8. ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. ตะไคร้ [อินเตอร์เนต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 20 มีนาคม 2563] เข้าถึงได้จาก: http://www.thaicrudedrug.com/main.php?action=viewpage&pid=60
  9. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกําแพงแสน สำนักหอสมุดกำแพงแสน. พริก [อินเตอร์เนต]. 2562  [เข้าถึงเมื่อ 20 มีนาคม 2563] เข้าถึงได้จาก: http://www.lib.kps.ku.ac.th/.../Bs/PonpanaNa/chapter2.pdf
Share:

@2020 BDMS Wellness Clinic. All rights Reserved