Call +66 2 826 9999
Mon-Fri 07:00 - 20:00
Sat-Sun 07:00 - 17:00

6 สัญญาณเตือนที่บอกว่าคุณอาจมีปัญหาช่องคลอด

 

สุขภาพช่องคลอดถือเป็นหนึ่งในเรื่องสำคัญสำหรับผู้หญิง หลายครั้งที่เมื่อเกิดความผิดปกติกลับถูกละเลยจนก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพอย่างอื่นตามมา อีกทั้งอาการผิดปกติของช่องคลอดแม้เพียงเล็กน้อยก็อาจนำไปสู่ปัญหาในการใช้ชีวิตประจำวันได้

ดังนั้นนอกจากจะต้องหมั่นดูแลแล้ว จึงต้องหมั่นสังเกตว่ามีอาการผิดปกติใดเกิดขึ้น ซึ่งการรู้ทันสัญญาณของความผิดปกตินอกจากจะช่วยป้องกันปัญหา ยังช่วยเสริมความมั่นใจในการใช้ชีวิตประจำวันได้อีกด้วย

 

อาการผิดปกติเบื้องต้นที่ควรสังเกต

1. กลิ่นผิดปกติไปจากเดิม

โดยตามธรรมชาติช่องคลอดมีกลิ่นเล็กน้อย แต่หากมีกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์อย่างรุนแรงอาจเป็นสัญญาณที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติอย่างอื่น เช่น อาการแสบร้อน อาการคันอย่างรุนแรง ลักษณะของตกขาวที่ผิดปกติ ตลอดจนภาวะเชื้อราในช่องคลอด หรือภาวะช่องคลอดอักเสบจากแบคทีเรีย ไม่ควรใช้ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่น เพราะอาจกระตุ้นอาการระคายเคืองในช่องคลอดได้ และควรพบแพทย์เพื่อทำการตรวจหาสาเหตุโดยละเอียด

2. ความผิดปกติของตกขาว
  • ตกขาวมีสีน้ำตาลหรือปนเลือด เนื่องจากประจำเดือนมาผิดปกติ หรือเป็นมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก อาจมีอาการปวดท้องน้อยและเลือดออกจากช่องคลอดร่วมด้วย
  • ตกขาวมีสีเหลืองขุ่น อาจเป็นสัญญาณของโรคหนองใน โดยมีอาการปัสสาวะผิดปกติและปวดท้องน้อยร่วมด้วย
  • ตกขาวมีสีเหลืองออกเขียวร่วมกับกลิ่นผิดปกติ อาจเป็นสัญญาณของการติดเชื้อปรสิตจากการมีเพศสัมพันธ์ (Trichomoniasis) โดยมีอาการแสบขณะปัสสาวะร่วมด้วย
  • ตกขาวมีสีออกชมพู สาเหตุจากเยื่อบุโพรงมดลูกลอกตัวหลังการคลอดบุตร
  • ตกขาวมีลักษณะเหนียวผิดปกติ อาจเป็นภาวะติดเชื้อยีสต์ของช่องคลอด
  • ตกขาวมีสีขาวหรือเหลืองร่วมกับกลิ่นคาว อาจเป็นภาวะติดเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอด โดยมีอาการแสบภายในช่องคลอดและอาการบวมแดงร่วมด้วย
3. เจ็บระหว่างมีเพศสัมพันธ์

4. ภายในช่องคลอดแห้งผิดปกติ

ปกติในช่องคลอดของผู้หญิงจะมีลักษณะชุ่มชื้น เพื่อลดการเสียดสีและเพิ่มความยืดหยุ่นของช่องคลอด แต่หากมีภาวะขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ก็อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งภาวะช่องคลอดแห้งจะนำไปสู่สาเหตุการติดเชื้อราในช่องคลอด แต่สำหรับผู้ที่เข้าสู่วัยทองภาวะช่องคลอดแห้งถือเป็นเรื่องปกติไม่ใช่เรื่องน่ากังวล

5. ช่องคลอดมีเลือดออกผิดปกติ

เลือดออกผิดปกติในช่วงประจำเดือนนั้นมีทั้งเลือดออกมากเกินไป และเลือดออกน้อยเกินไป เป็นผลสืบเนื่องจากปัจจัยหลายสาเหตุ ได้แก่

  • มีเนื้องอกในมดลูก
  • ฮอร์โมนผิดปกติ
  • การใช้ยาคุมกำเนิด
  • มะเร็งปากมดลูกหรือมะเร็งช่องคลอด

อย่างไรก็ตาม สำหรับภาวะตั้งครรภ์ หากพบว่าช่องคลอดมีเลือดออกถือว่าเป็นอาการที่ไม่ร้ายแรง แต่ควรปรึกษาแพทย์ผู้ดูแลเพื่อความปลอดภัยของผู้ตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ และสำหรับผู้ที่อยู่ในวัยหมดประจำเดือนควรปรึกษาแพทย์

6. มีแผลหรือลักษณะความผิดปกติอื่น ๆ บริเวณผิวหนังใกล้ช่องคลอด

เมื่อสัมผัสช่องคลอดแล้วรู้สึกว่ามีก้อนเนื้อหรือมีลักษณะเป็นสิวใกล้กับช่องคลอด สาเหตุอาจเป็นเพราะผิวหนังระคายเคืองจากปัจจัยบางอย่าง เช่น ขนคุด หรือการใช้มีดโกนอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม หากพบเจอก้อนความผิดปกติรอบ ๆ บริเวณช่องคลอดเป็นจำนวน ร่วมกับอาการคันและแสบร้อน อาจเป็นอาการของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STD)

 

ทั้งนี้ การหมั่นสังเกตและตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอตลอดจนการรักษาความสะอาดและรับประทานอาหารที่เหมาะสม สามารถป้องกันปัญหาที่เกิดขึ้นกับช่องคลอดในเบื้องต้นได้ และหากมีอาการผิดปกติเกิดขึ้นจนส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันควรรีบพบแพทย์ อย่าอายหรือนิ่งนอนใจจนนำไปสู่ปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรง

 

Reference
  1. WebMD. Vaginal Discharge: What’s Abnormal? [Internet]. 2018 [cited2019 Nov25]. Available from: https://www.webmd.com/women/guide/vaginal-discharge-whats-abnormal#1
  2. Mayo Clinic. Vaginal odor [Internet]. 2018 [cited 2019 Dec 5]. Available from: https://www.mayoclinic.org/symptoms/vaginal-odor/basics/causes/sym-20050664?p=1
  3. MedlinePlus. Vaginal Disease [Internet]. Bethesda, MD: U.S. National Library of Medicine [updated 15 July 2019; cited 2019 Nov 26]. Available from: https://medlineplus.gov/vaginaldiseases.html
  4. Mayo Clinic. Vagina: What's normal, what's not [Internet]. 2019 [cited 2019 Dec 5].  Available from: https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/womens-health/in-depth/vagina/art-20046562
  5. Healthwise. Female Genital Problems and Injuries [Internet]. 2019 [cited 2019 Dec 5].  Available from: https://wa.kaiserpermanente.org/kbase/topic.jhtml?docId=vagts#hw89443
Share:

Recommended Packages & Promotions

Ultrasound Transvaginal & LAB (AMH+FSH+E2) คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก และส่งเสริมสุขภาพสตรี คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก และส่งเสริมสุขภาพสตรี

รังไข่ Young ดีอยู่ไหม? ตรวจเช็ก “ภาวะรังไข่เสื่อม” เสี่ยงมีบุตรยาก

6,500

@2020 BDMS Wellness Clinic. All rights Reserved