ข้อกำหนดในการรักษาภาวะมีบุตรยากในประเทศไทย
1. ผู้เข้ารับบริการรักษาภาวะมีบุตรยาก จำเป็นต้องมีทะเบียนสมรส หรือไม่
จำเป็นต้องมีทะเบียนสมรส เนื่องจากกฎหมายประเทศไทยกำหนดให้คู่สมรสต้องมีเอกสารทะเบียนสมรส จึงสามารถทำ IUI, IVF หรือ ICSI ในประเทศไทยได้ ดังนั้นผู้เข้ารับบริการจำเป็นต้องนำทะเบียนสมรสฉบับจริงมาที่แสดงต่อเจ้าหน้าที่พยาบาลเพื่อเข้ารับการรักษาภาวะมีบุตรยาก
แต่สำหรับ ขั้นตอนการกระตุ้นรังไข่และใช้ยาเพื่อให้เจริญพันธุ์บางชนิด กฎหมายอนุญาตให้สามารถดำเนินการรักษาได้โดยไม่ต้องมีทะเบียนสมรส
หากทะเบียนสมรสของผู้เข้ารับบริการเป็นภาษาอื่นที่ไม่ใช่ภาษาไทย จะต้องต้องแปลเป็นภาษาไทยและให้สถานทูตของประเทศที่ระบุในทะเบียนสมรส และที่ตั้งอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานครทำการรับรอง ซึ่งในกรณีนี้กรุณาติดต่อคลินิกที่รับบริการล่วงหน้าเพื่อรับทราบข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติม
2. หากผู้รับบริการแต่งงานอย่างถูกต้องตามกฎหมายกับเพศเดียวกันในประเทศของผู้รับบริการเอง สามารถใช้วิธีการ IUI, IVF หรือ ICSI ในประเทศไทยได้หรือไม่
กฏหมายประเทศไทยไม่อนุญาตให้มีการรักษาภาวะมีบุตรยาก หรือการใช้เทคโนโลยีช่วยในการเจริญพันธุ์กับทุกคู่สมรสเพศเดียวกันในประเทศไทย
3. การบริจาคไข่สามารถทำในประเทศไทยได้หรือไม่
การบริจารไข่สามารถทำได้ในประเทศไทย ในกรณีที่มีความจำเป็นในการรักษาภาวะมีบุตรยากด้วยวิธีนี้ ผู้บริจาคไข่ต้องมีอายุระหว่าง 20 ถึง 35 ปี ผู้บริจาคไข่ต้องมีหรือเคยมีสามีที่ชอบด้วยกฎหมาย กรณีที่มีสามีที่ชอบด้วยกฎหมายต้องมีหนังสือ ยินยอมจากสามีที่ชอบด้วยกฏหมายเป็นลายลักษณ์อักษร ผู้รับบริจาคไข่ต้องเป็นผู้มีสัญชาติเดียวกันกับผู้บริจาค ห้ามผู้รับบริจาคไข่ใช้ไข่จากผู้บริจาคมากกว่า 1 คนในแต่ละรอบการรักษา ผู้บริจาคไข่บริจาคไข่ได้ไม่เกิน 3 ครั้ง
4. การบริจาคอสุจิในประเทศไทยทำได้หรือไม่
การบริจาคอสุจิสามารถทำได้ในประเทศไทย ในกรณีที่มีความจำเป็นในการรักษาภาวะมีบุตรยากด้วยวิธีนี้
ผู้บริจาคอสุจิต้องมีอายุระหว่าง 20 ถึง 45 ปี ผู้บริจาคอสุจิสามารถบริจาคอสุจิได้เฉพาะกรณที่เมื่อบริจาคแล้วมีการตั้งครรภ์จนได้บุตรไม่เกิน 10 ครอบครัว ในกรณีที่มีภรรยาที่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้บริจาคต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจาก ภรรยาที่ชอบด้วยกฎหมาย
5. สามารถตรวจคัดกรองความผิดปกติทางกันธุกรรมของตัวอ่อนก่อนการฝังตัว ในประเทศไทย ได้หรือไม่
กฏหมายประเทศไทยอนุญาตให้มีการตรวจคัดกรองความผิดปกติทางพันธุกรรมของตัวอ่อนก่อนการฝังตัวและสามารถทำในกรณีดังต่อไปนี้
- ฝ่ายหญิงมีอายุเกิน 35 ปีขึ้นไป
- ฝ่ายหญิงมีประวัติการแท้งมากกว่า 2 ครั้งในขณะอายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ หรือผลการตรวจยืนยันว่า การแท้งครั้งก่อนเกิดจากทารกมีพันธุกรรมผิดปกติ
- มีประวัติตั้งครรภ์ที่ทารกมีความผิดปกติอันเนื่องจากความผิดปกติของโครโมโซม
- ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้หลังจากใช้เทคโนโลโยช่วยการเจริญพันธุ์ มาถึง 2 ครั้งติดต่อกัน
- เพื่อตรวจคัดกรองโรคทางพันธุกรรมที่อาจถ่ายทอดสู่ตัวอ่อน
- เพื่อใช้ในการรักษาบุตรที่ป่วยเป็นโรคบางอย่างหรือมีความผิดปกติอย่างรุงแรงด้วยการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด
เตรียมความพร้อมการมีบุตร หรือปรึกษาเรื่องสุขภาพผู้หญิง
นัดหมายแพทย์ผ่านทาง Line